top of page

คำแนะนำการจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์


กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ เป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการส่งเสริมพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ และภารกิจหนึ่งที่สำคัญ คือ การกระตุ้นให้ผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์มาจดทะเบียนกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า และการออกเครื่องหมายรับรองการจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (DBDregistered) ให้แก่ผู้ประกอบการที่จดทะเบียน ปัจจุบัน กระทรวงพาณิชย์ ได้ถ่ายโอนอำนาจจดทะเบียนพาณิชย์ไปให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั้งหมดแล้ว โดยที่กระทรวงพาณิชย์ยังเป็นผู้รักษาการตามกฎหมาย พ.ร.บ.ทะเบียนพาณิชย์ พ.ศ. 2499 กำกับดูแลด้านนโยบายในการจดทะเบียนพาณิชย์ และเป็นศูนย์กลางข้อมูลทะเบียนพาณิชย์ทั่วราชอาณาจักร ในส่วนของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ยังคงมีบทบาทหน้าที่ในการส่งเสริมพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ต่อไป เพื่อเพิ่มโอกาสและขยายช่องทางการตลาดให้แก่ผู้ประกอบการ โดยผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ที่จดทะเบียนแล้ว ยังคงได้รับสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ จากกรมพัฒนาธุรกิจการค้าเช่นเดิม ประโยชน์ของการจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ 1. สร้างความน่าเชื่อถือให้แก่ผู้ประกอบการในระดับหนึ่ง โดยกรมพัฒนาธุรกิจการค้าจะออกเครื่องหมายรับรองการจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (DBDregistered) ให้แก่ผู้ประกอบการที่ จดทะเบียน เพื่อนำไปแสดงไว้บนเว็บไซต์ของตนเอง เมื่อผู้บริโภค (ผู้ซื้อ) เห็นเครื่องหมาย DBDregistered แล้วจะเกิดความมั่นใจในการทำธุรกรรมพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เพิ่มมากขึ้น 2. กรมพัฒนาธุรกิจการค้า จะนำรายชื่อเว็บไซต์ที่จดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์แล้ว ไปเผยแพร่ไว้บนเว็บไซต์ของกรมฯ (www.dbd.go.th) เพื่อช่วยประชาสัมพันธ์เว็บไซต์ของผู้ประกอบการอีกช่องทางหนึ่ง 3. ผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ที่จดทะเบียนแล้ว สามารถยื่นขอใช้เครื่องหมายรับรองความน่าเชื่อถือ (DBDverified) จากกรมพัฒนาธุรกิจการค้าได้ ซึ่งเครื่องหมาย DBDverified นี้จะมี ความน่าเชื่อถือสูงกว่าเครื่องหมาย DBDregistered กล่าวคือ จะออกให้แก่เว็บไซต์ที่มีคุณภาพเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กรมฯ กำหนดเท่านั้น (ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.trustmarkthai.com) 4. การได้รับสิทธิพิเศษต่าง ๆ เช่น การเข้าร่วมอบรมสัมมนา การได้รับคำแนะนำ และการได้รับข้อมูลข่าวสารด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น

ผู้มีหน้าที่จดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ 1. ซื้อขายสินค้าหรือบริการ ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต 2. บริการอินเทอร์เน็ต (Internet Service Provider : ISP) 3. ให้เช่าพื้นที่ของเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย (Web Hosting) 4. บริการเป็นตลาดกลางในการซื้อขายสินค้าหรือบริการ (e-Marketplace)

ตัวอย่างเว็บไซต์ที่เข้าข่ายต้องจดทะเบียน

- มีระบบการสั่งซื้อ เช่น ระบบกรอกฟอร์ม ระบบตะกร้า e-mail หรืออื่น ๆ

- มีระบบการชำระเงิน ออฟไลน์ หรือ ออนไลน์ เช่น การโอนเงินผ่านระบบบัญชี การชำระด้วยบัตรเครดิต หรือ e-cash เป็นต้น - มีระบบสมัครสมาชิก เพื่อรับบริการข้อมูลหรืออื่น ๆ โดยมีการคิดค่าใช้จ่าย (ถือเป็นการขายบริการ) - มีวัตถุที่ประสงค์หลักในการรับจ้างโฆษณาสินค้าหรือบริการของผู้อื่น และมีรายได้จากการโฆษณานั้น - รับจ้างออกแบบเว็บไซต์ หรือเพียงโฆษณาว่าเป็นผู้รับจ้างออกแบบเว็บไซต์ (ถือว่าการออกแบบเว็บไซต์นั้นมีช่องทางการค้าปกติบนอินเทอร์เน็ต) - เว็บไซต์ให้บริการเกมส์ออนไลน์ที่คิดค่าบริการจากผู้เล่น (เจ้าของเว็บไซต์ต้องจดทะเบียน)- เว็บไซต์ที่มีการส่งมอบสินค้าหรือบริการผ่านทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เช่น การ Download เพลงโปรแกรม เกมส์ Ringtone Screensaver SMS เป็นต้น ตัวอย่างเว็บไซต์ที่ ไม่ต้องจดทะเบียน - มีเฉพาะหน้าร้านโชว์สินค้าของตนเอง แต่ทำการค้าในช่องทางปกติ (ไม่ใช่อินเทอร์เน็ต) แม้จะมีข้อความตัวอย่างเว็บไซต์ที่ ไม่ต้องจดทะเบียนแจ้งว่าให้ติดต่อได้ เช่น สนใจโทร.ติดต่อ… หรือ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ - การโฆษณาสินค้าของตนเอง โดยลักษณะของการโฆษณานั้นไม่ใช่วัตถุที่ประสงค์หลักของกิจการและไม่ใช่ช่องทางค้าปกติ แม้จะมี banner ของผู้อื่นมาติดและมีรายได้จาก banner ก็ตาม - การประชาสัมพันธ์หรือเผยแพร่ข้อมูลแก่สมาชิกหรือบุคคลทั่วไป โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายหรือบริการ เช่น เพื่อการสอน ประกาศรับสมัครงาน - การประชาสัมพันธ์ข้อมูลเกี่ยวกับบริษัท หรือสินค้า - เว็บไซต์ส่วนตัว (ส่วนบุคคล) ที่สร้างขึ้นเพื่อเผยแพร่ข้อมูลส่วนตัว การงาน การศึกษา หรือความสนใจส่วนตัว- เว็บไซต์ที่เป็นสื่อกลางด้านข้อมูล โดยมีจุดประสงค์ในการแลกเปลี่ยนข้อมูล โดยไม่มีการเสียค่าสมาชิกหรือค่าใช้จ่ายใด ๆ ขั้นตอนการจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ 1. ทำเว็บไซต์ให้เสร็จเรียบร้อยพร้อมออนไลน์ขั้นตอนการจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ 2. ยื่นขอจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ 3. ยื่นเอกสารเพื่อขอใช้เครื่องหมาย DBD Registered ข้อมูลมาจากเว็บ www.dbd.go.th

Comments


Recent Posts
Search By Tags
No tags yet.
bottom of page