จดทะเบียนโลโก้ จดลิขสิทธิ์โลโก้ ลิขสิทธิ์แบรนด์ จดเครื่องหมายการค้า จดสิทธิบัตร

จดลิขสิทธิ์

ลิขสิทธิ์ ให้ความคุ้มครองแก่งานสร้างสรรค์ตามที่กฎหมายกำหนด ได้แก่ งานเขียน เช่น บทบรรยาย บทความ หนังสือ, งานด้านภาพ เช่น ภาพวาด ภาพถ่าย โปสเตอร์, งานด้านดนตรี เช่น ทำนอง เนื้อร้อง เป็นต้น เจ้าของลิขสิทธิ์มีสิทธิที่จะกีดกันผู้อื่นจากการคัดลอก การขาย การแสดง การเผยแพร่ โดยไม่ได้รับความยินยอมจากเจ้าของสิทธิ สำหรับเจ้าของลิขสิทธิ์ที่มีแผนจะใช้งานลิขสิทธิ์ในทางการค้า ควรแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์
ลิขสิทธิ์คืออะไร?
ลิขสิทธิ์ หมายถึง สิทธิแต่เพียงผู้เดียวที่จะกระทำการใด ๆ เกี่ยวกับงานที่ผู้สร้างสรรค์ได้ริเริ่มโดยการใช้สติปัญญาความรู้ ความสามารถ และความวิริยะอุตสาหะของตนเองในการสร้างสรรค์ โดยไม่ลอกเลียนงานของผู้อื่น โดยงานที่สร้างสรรค์ต้องเป็นงานตามประเภทที่กฎหมายลิขสิทธิ์ให้คุ้มครอง
งานอะไรบ้างที่มีลิขสิทธิ์?
งานสร้างสรรค์ที่มีลิขสิทธิ์ ประกอบด้วยประเภทงานต่าง ๆ ดังนี้
-
งานวรรณกรรม เช่น หนังสือ จุลสาร สิ่งเขียน สิ่งพิมพ์ คำปราศรัย โปรแกรมคอมพิวเตอร์
-
งานนาฏกรรม เช่น งานเกี่ยวกับการรำ การเต้น การทำท่า หรือการแสดงที่ประกอบขึ้นเป็นเรื่องราว รวมถึงการแสดงโดยวิธีใบ้ด้วย
-
งานศิลปกรรม เช่น งานจิตรกรรม งานประติมากรรม ภาพพิมพ์ งานสถาปัตยกรรม ภาพถ่าย ภาพประกอบ หรืองานสร้างสรรค์รูปทรงสามมิติเกี่ยวกับภูมิประเทศหรือวิทยาศาสตร์ งานศิลปประยุกต์ ซึ่งรวมถึงภาพถ่ายและแผนผังของงานดังกล่าวด้วย
-
งานดนตรีกรรม เช่น คำร้อง ทำนอง การเรียบเรียงเสียงประสาน รวมถึงโน๊ตเพลงที่ได้แยกและเรียบเรียงเสียงประสานแล้ว
-
งานโสตทัศนวัสดุ เช่น วีดีโอเทป แผ่นเลเซอร์ดิสก์ที่บันทึกข้อมูลซึ่งประกอบด้วยลำดับของภาพหรือภาพและเสียงอันสามารถที่จะนำมาเล่นซ้ำได้อีก
-
งานภาพยนตร์ เช่น ภาพยนตร์ รวมทั้งเสียงประกอบของภาพยนตร์นั้นด้วย (ถ้ามี)
-
งานสิ่งบันทึกเสียง เช่น เทปเพลง แผ่นคอมแพ็คดิสก์ที่บันทึกข้อมูลเสียง
-
งานแพร่เสียงแพร่ภาพ เช่น การกระจายเสียงทางวิทยุ หรือการแพร่เสียง หรือภาพทางสถานีโทรทัศน์
-
งานอื่นใดอันเป็นงานในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ
งานอะไรบ้างที่ไม่ถือว่ามีลิขสิทธิ์?
ข่าว กฎหมาย คำพิพากษา ข้อมูลข้อเท็จจริง ชื่อหนังสือ ชื่อเพลง รูปแบบตัวอักษร วิธีจัดการธุรกิจ เทคนิควิธีการเขียน หนังสือทำมือพล็อตเรื่อง ความคิด ขั้นตอน กรรมวิธี หลักการ วิธีใช้หรือวิธีทำงาน เป็นต้น
ลิขสิทธิ์เกิดขึ้นเมื่อไหร่?
สิทธิในลิขสิทธิ์จะเกิดขึ้นโดยทันทีนับตั้งแต่ผู้สร้างสรรค์ได้สร้างสรรค์ผลงาน อย่างไรก็ตาม กรมทรัพย์สินทางปัญญาได้มีบริการรับแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์ เพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลและรวบรวมข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับงานลิขสิทธิ์ ซึ่งจะเป็นองค์ประกอบหนึ่งในการคุ้มครองสิทธิของเจ้าของลิขสิทธิ์ ทั้งยังเป็นแหล่งข้อมูลสำหรับผู้ที่ต้องการขออนุญาตใช้ลิขสิทธิ์ ให้สามารถตรวจค้นเพื่อประโยชน์ในการติดต่อธุรกิจกับเจ้าของลิขสิทธิ์ได้ดังนั้นเจ้าของลิขสิทธิ์ที่มีแผน ที่จะใช้งานลิขสิทธิ์ในทางการค้า ควรยื่นแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์ของตน
เจ้าของลิขสิทธิ์มีสิทธิอะไรบ้าง?
เจ้าของลิขสิทธิ์มีสิทธิแต่เพียงผู้เดียวที่จะกระทำการใด ๆ ต่องานอันมีลิขสิทธิ์ของตนดังนี้
- ทำซ้ำหรือดัดแปลง
- เผยแพร่ต่อสาธารณชน เช่น การแสดง การบรรยาย การจำหน่าย ฯลฯ
- ให้เช่าต้นฉบับหรือสาเนางานโปรแกรมคอมพิวเตอร์ โสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์ หรือสิ่งบันทึกเสียง
- ให้ประโยชน์อันเกิดจากลิขสิทธิ์แก่ผู้อื่น
- อนุญาตให้ผู้อื่นใช้ลิขสิทธิ์ของตน ทั้งหมดหรือบางส่วน
ลิขสิทธิ์ได้รับความคุ้มครองนานแค่ไหน?
-
บุคคลธรรมดา : ตลอดอายุผู้สร้างสรรค์ และจะมีต่อไปอีก 50 ปี นับแต่ผู้สร้างสรรค์ถึงแก่ความตาย
-
นิติบุคคล : มีอายุ 50 ปี นับแต่ได้สร้างสรรค์งานนั้นขึ้น
ที่มา : http://www.am.mahidol.ac.th/web/